PRODUCT PHOENIX STATION

CHARGING STATION

ปัจจุบันบริษัทฯ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการใช้พลังงานสะอาด รวมถึงการตอบสนองนโยบายของภาครัฐ และต้องการช่วยในการสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จึงมีนโยบายที่จะสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้าและพลังงานทดแทน บริษัทฯ จึงมีแผนที่จะขยายธุรกิจด้านสถานีอัดประจุไฟฟ้ากว่า 2,000 หัวจ่าย ทั่วประเทศสำหรับส่งประจุไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไปยังยานยนต์โดยผ่านสายเคเบิล แบ่งได้เป็น 2 ประเภท

o การอัดประจุไฟฟ้าแบบปกติ (Normal Charge) เป็นการอัดประจุไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ผ่านอุปกรณ์อัดประจุไฟฟ้าที่ติดตั้งภายในยานยนต์ไฟฟ้า
(On-Board Charge) โดยทั่วไปจะสามารถรองรับกระแสไฟฟ้าได้ 22 KW และ 44 KW ซึ่งการประจุไฟฟ้ารูปแบบนี้เหมาะกับการอัดประจุที่
สำนักงานหรือที่จอดรถสาธารณะ เวลาที่ใช้ในการอัดประจุคือ ประมาณ 1-2 ชั่วโมง

o การอัดประจุไฟฟ้าแบบรวดเร็ว (Quick Charge) เป็นการอัดประจุไฟฟ้าแบบกระแสตรง (DC) เข้าสู่แบตเตอรี่โดยตรง
โดยจะมี BMS (Battery Management System) ทำหน้าที่ควบคุมการอัดประจุ สามารถอัดประจุไฟฟ้าได้รวดเร็วและจ่ายกระแสไฟฟ้าได้กำลังแรงสูง
เนื่องจากไม่มีข้อจำกัด On-Board Charge เวลาที่ใช้ในการอัดประจุคือ ประมาณ 20-30 นาที

โดยการอัดประจุไฟฟ้าผ่านตัวนำเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน รูปแบบการเชื่อมต่อสำหรับการอัดประจุไฟฟ้า ตามมาตรฐาน IEC 62196 มีด้วยกัน 4 รูปแบบ ดังนี้โดยการอัดประจุไฟฟ้าผ่านตัวนำเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน รูปแบบการเชื่อมต่อสำหรับการอัดประจุไฟฟ้า ตามมาตรฐาน IEC 62196 มีด้วยกัน 4 รูปแบบ ดังนี้

o โหมด 1 (Mode 1) ยานยนต์ไฟฟ้าจะเชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าผ่านเต้ารับจากที่อยู่อาศัยโดยตรง เป็นการอัดประจุไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ซึ่งระบบไฟฟ้าภายในที่อยู่อาศัยจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัย มีการติดตั้งสายดิน อุปกรณ์การตัดไฟฟ้าและอุปกรณ์ป้องกันการเกิดกระแสไฟฟ้ารั่ว เนื่องจากการอัดประจุไฟฟ้าในโหมด 1 ใช้เวลาดำเนินการนานอาจทำให้เกิดความร้อนที่เด้ารับ และสายไฟฟ้าทำให้ก่อเกิดอันตราย จึงจำเป็นที่จะต้องติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าว

o โหมด 2 (Mode 2) ยานยนต์ไฟฟ้าจะเชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าผ่านเต้ารับจากที่อยู่อาศัยโดยตรง เป็นการอัดประจุไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) แบบ 1 เฟส หรือ 3 เฟส จะมีอุปกรณ์ควบคุมความปลอดภัยในการอัดประจุไฟฟ้าติดตั้งมาพร้อมกับสายเคเบิล ซึ่งจะทำให้ค่าใช้จ่ายมากว่าโหมด 1

o โหมด 3 (Mode 3) ยานยนต์ไฟฟ้าจะเชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าผ่านเครื่องอัดประจุไฟฟ้าขนาดเล็กที่มีแผงควบคุมวงจรในการอัดประจุไฟฟ้า และควบคุมความปลอดภัยในการอัดประจุไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ได้ดีกว่า โหมด 1 และโหมด 2 ซึ่งการอัดประจุไฟฟ้าโหมดนี้สามารถพบเห็นได้ทั่วไปตามสถานีบริการอัดประจุไฟฟ้าสาธารณะที่สามารถจอดรถเป็นระยะเวลานานได้ เช่น ห้างสรรพสินค้า ที่ทำงาน เป็นต้น

o โหมด 4 (mode 4) ยานยนต์ไฟฟ้าจะเชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าผ่านเครื่องอัดประจุไฟฟ้ากระแสตรง (DC) เข้าสู่แบตเตอรี่โดยตรง โดยเครื่องจะมีระบบควบคุมการจ่ายกระแสไฟฟ้า ควบคุมความปลอดภัย และสายเคเบิลที่ติดตั้งมากับเครื่องอัดประจุไฟฟ้า จึงทำให้การอัดประจุไฟฟ้าโหมดนี้มีความรวดเร็ว และมีความปลอดภัยมากที่สุด สามารถพบเห็นได้ในสถานีบริการอัดประจุไฟฟ้า

ทั้งนี้ทางบริษัทฯได้เลือกให้บริการเป็นแบบ โหมด 4 (Mode 4) ซึ่งยานยนต์ไฟฟ้าถูกเชื่อมต่อเข้ากับระบบไฟฟ้าผ่านเครื่องอัดประจุไฟฟ้า ซึ่งจะอัดประจุไฟฟ้าด้วยกระแสตรง (DC) เข้าสู่แบตเตอรี่โดยตรง โดยเครื่องอัดประจุไฟฟ้าจะมีระบบควมคุมการจ่ายกระแสไฟฟ้า ระบบควบคุมความปลอดภัยและสายเคเบิลติดตั้งมากับเครื่องอัดประจุไฟฟ้า จึงทำให้การอัดประจุไฟฟ้าในโหมด 4 มีความรวดเร็วและปลอดภัยค่อนข้างสูง

PAKPINYO Co.,Ltd

1000/19-20 Liberty Plaza Building 12A fl., Soi Sukhumvit55, Sukhumvit Road, Klongtan – Nua, Wattana, Bangkok 10110, Thailand.

FOLLOW US

Copyright@2019 Phoenix Station

CALL CENTER

02-044-2525